TOP

ยีนดัดแปลง CRISPR–Cas9 เริ่มทดลองใช้กับมนุษย์เป็นครั้งแรกแล้ว ในผู้ป่วยมะเร็งปอด

นักวิทยาศาสตร์จากจีนเริ่มทดลองฉีดยีนดัดแปลง CRISPR–Cas9 เข้าสู่มนุษย์เป็นครั้งแรก โดยครั้งนี้เป็นการทดสอบกับผู้ป่วยมะเร็งปอดขั้นรุนแรง เพื่อทดสอบความสามารถในการรักษาโรคมะเร็ง

CRISPR คืออะไร

CRISPR เป็นเทคโนโลยีใหม่ ทำให้นักพันธุศาสตร์และนักวิจัยทางการแพทย์มีความสามารถในการแก้ไขจีโนม (ยีนและโครโมโซม) ของสิ่งมีชีวิต ด้วยการตัดต่อ เพิ่ม หรือเรียงลำดับของ DNA ใหม่ ซึ่งเทคนิค CRISPR นี้มีความง่าย แม่นยำ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ซึ่งในอนาคตอาจนำไปใช้ในคน สัตว์ หรือพืชได้

ยีนดัดแปลง CRISPR-Cas9 เริ่มทดลองในมนุษย์

ทีมนักวิจัยนำโดยคุณ Lu You นักเนื้องอกวิทยาจากมหาวิทยาลัย Sichuan University เมืองเฉิงตู ประเทศจีน นำเทคนิค CRISPR-Cas9 ซึ่งเป็นการดัดแปลงเซลล์ที่ประกอบด้วยเอนไซม์ที่มีความสามารถในการตัด DNA และ RNA ที่ทำหน้าที่ในการชี้เป้าหมายในการตัด DNA ให้กับเอนไซม์ ฉีดเข้าไปในร่างกายมนุษย์เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นผู้ช่วยมะเร็งปอดขั้นรุนแรง หลังผ่านการรับรองจากคณะกรรมการด้านจริยธรรมแล้ว เพื่อทดสอบการรักษาโรคมะเร็งและความปลอดภัยของการใช้เทคนิค CRISPR ในมนุษย์

ขั้นตอนการทำงานของ Cas9

ขั้นตอนการทำงานของ Cas9

ความหวังของทีมนักวิจัยคือ เซลล์ที่ทำการตัดต่อแก้ไขด้วยเทคนิค CRISPR นี้ ปราศจากโปรตีนชื่อ PD-1 (Programmed Death-1) ที่ทำหน้าที่ในการเปิดการทำงานของ T-cell ให้ไปกำจัดเซลล์แปลกปลอม จะสามารถเอาชนะเซลล์มะเร็งได้

อนาคตในการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคนิค CRISPR

คุณ Lu You กล่าวว่า ตอนนี้ยังเร็วไปที่จะตัดสินว่า การรรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคนิค CRISPR นี้จะเป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (เช่น การใช้ T-cell) ไปกำจัดเซลล์มะเร็ง

แต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นครั้งแรกของการนำเทคนิค CRISPR ในมนุษย์ ซึ่งยังต้องมีการศึกษาและทดลองอีกมากมาย

ผมคิดว่าเทคนิค CRISPR นี้จะเป็นเสมือน Sputnik เวอร์ชั่น 2.0 ที่จะนำไปสู่ยุคการแข่งขันด้านการชีวการแพทย์ระหว่างจีนและสหรัฐ ซึ่งการแข่งขันนี้จะมีความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากเทคนิค CRISPR อย่างแน่นอน

(Sputnik คือดาวเทียมดวงแรกของโลก จากรัสเซีย – ผู้เขียน)

อ้างอิง: Nature, MIT Technology Reviewyourgenome.orgวิชาการ.คอม

5/5 (1 Review)

ผู้ร่วมก่อตั้งชมรม SCIREN ชอบการทำสื่อและการตลาด ชอบวิทยาศาสตร์เป็นชีวิตจิตใจ

error: