TOP

นักดาราศาสตร์พบความเป็นไปได้ที่ ‘ดวงจันทร์’ จะมี ‘ดวงจันทร์’ ของตัวเอง ชื่อเล่นว่า Moonmoon

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา Juna A. Kollmeier และ Sean N. Raymond นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันและฝรั่งเศส ได้เผยแพร่หัวข้อวิจัยลงบนเว็บไซต์ arXiv.org ชื่อเรื่องว่า “CAN MOONS HAVE MOONS?” โดยตั้งข้อสันนิษฐานทางทฤษฎีถึงการมีอยู่ของ ‘ดวงจันทร์บริวาร’ ของดาวบริวารของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ หรือเรียกเล่น ๆ ว่า ‘Moonmoon’ โดยศึกษาสภาวะที่สามารถเกิด Moonmoon (ศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า submoon และชื่ออย่างไม่เป็นทางการอีกมากมายทั้ง moonitos moonettes หรือ moooon) โดยที่ดาวบริวารหลักจะต้องมีขนาดใหญ่ (ราว ๆ ขนาด 1,000 กม.) และ Moonmoon จะต้องมีขนาดเล็กมาก (ราว 10 กม.) โดยที่ทั้งสองต้องอยู่ห่าง “มากพอ” จากดาวเคราะห์แม่ เพราะ Moonmoon อาจถูกแรงดึงดูดรบกวนจากดาวเคราะห์เหวี่ยงให้พุ่งชนตัวเอง หรือดาวบริวารหลัก หรือหลุดลอยออกนอกวงโคจรไป

ดาวบริวารที่มีสภาวะเอื้อต่อการเกิด Moonmoon ในระบบสุริยะ ประกอบด้วย คัลลิสโต (Callisto) ของดาวพฤหัสบดี ไททัน (Titan) และไอแอพิตัส (Iapetus) ของดาวเสาร์ รวมถึงดวงจันทร์ (Moon) ของโลกด้วย นักวิจัยทั้งสองคาดว่าการศึกษา Moonmoon อาจเปิดเผยข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการกำเนิดดาวเคราะห์และดาวบริวาร ซึ่งมักเกิดจากการพุ่งชนและแยกตัวครั้งใหญ่ และเป็นไปได้ที่จะเกิดชิ้นส่วนเล็ก ๆ โคจรอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะเกิดเป็น Moonmoon ได้

ภาพของคัลลิสโต (Callisto) เทียบกับดาวพฤหัสบดีจากภารกิจยาน Cassini–Huygens

ภาพของคัลลิสโต (Callisto) เทียบกับดาวพฤหัสบดีจากภารกิจยาน Cassini–Huygens (source: NASA)

ระยะห่างของดวงจันทร์ (Moon) เทียบกับโลก ถ่ายจากยาน OSIRIS-REx (source: NASA)

ระยะห่างของดวงจันทร์ (Moon) เทียบกับโลก ถ่ายจากยาน OSIRIS-REx (source: NASA)

ตำแหน่งของไททัน (Titan) และไอแอพิตัส (Iapetus) เทียบกับดาวเสาร์

ตำแหน่งของไททัน (Titan) และไอแอพิตัส (Iapetus) เทียบกับดาวเสาร์

แม้ว่าเราจะยังไม่สามารถพิสูจน์ว่า Moonmoon มีอยู่จริงหรือไม่ แต่การพยายามศึกษาเกี่ยวกับดาราศาสตร์มากขึ้น ทำให้เราเข้าใจความลึกลับซับซ้อนของจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล และเมื่อถึงวันนั้นเราคงต้องมาช่วยกันตั้งชื่อเล่นให้เพื่อนใหม่ของเราว่าเค้าจะชื่อว่าอะไรดี?

4/5 (2 Reviews)

ครีเอทีฟรายการโทรทัศน์ ผู้หลงใหลความลับแห่งจักรวาล

error: