TOP

Parker Solar Probe ภารกิจสัมผัสดวงอาทิตย์ของ NASA จะเริ่มปฏิบัติการในอีก 1 สัปดาห์

NASA กำลังจะปล่อยยานอวกาศชื่อ Parker Solar Probe จากฐานปฏิบัติการ Cape Canaveral Air Force Station กับปฏิบัติการทางอวกาศครั้งใหม่ ที่จะไปสัมผัสดวงอาทิตย์ ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ เวลา 14:45 น. ตามเวลาในประเทศไทย ใครที่ลงชื่อส่งไปกับภารกิจครั้งนี้ ก็รอติดตามได้เลย

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ยานอวกาศจะถูกปล่อยออกจากฐานปฏิบัติการ Cape Canaveral Air Force Station ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เวลา 3:45 a.m. EDT โดยจรวด United Launch Alliance Delta IV Heavy และพวกเราสามารถชมปฏิบัติการครั้งนี้ได้ที่ Live นี้

ภาพจำลอง Parker Solar Probe ขณะเดินทางอยู่เหนือชั้นบรรยากาศของโลก (ภาพจาก: NASA)

ภาพจำลอง Parker Solar Probe ขณะเดินทางอยู่เหนือชั้นบรรยากาศของโลก (ภาพจาก: NASA)

เมื่อยานอวกาศได้ทะยานออกจากโลกไปแล้ว มันจะมุ่งตรงไปยังดาวศุกร์เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวศุกร์ในการเบรค โดยมันจะถึงดาวศุกร์วันที่ 2 ตุลาคมโดยประมาณ หลังจากนั้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน จะโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ 24 รอบ ในแต่ละรอบจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ไปที่ละน้อย ซึ่งจะใช้เวลาโคจรทั้งหมดประมาณ 7 ปี

ปฏิบัติการในขั้นตอนสุดท้าย จะเริ่มขึ้นในปี 2025 โดย Parker Solar Probe จะเข้าใกล้ผิวดวงอาทิตย์ในระยะ 6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ชั้นบรรยากาศที่ร้อนมากๆ ของดวงอาทิตย์ หรือที่เรียกว่า “corona”

ภารกิจสัมผัสดวงอาทิตย์ครั้งนี้จะไขปริศนา 3 เรื่องหลัก

ในระหว่างที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ อุปกรณ์ที่อยู่ในภาย Parker Solar Probe จะเก็บข้อมูลและทำงานเพื่อศึกษาปัญหาหลักๆ 3 เรื่อง

  1. ทำไมชั้นบรรยากาศที่อยู่ไกลพื้นผิวของดวงอาทิตย์ถึงร้อนกว่าชั้นบรรยากาศที่อยู่ใกล้
  2. ลมสุริยะ (solar wind) เกิดขึ้นได้อย่างไร
  3. อะไรที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยก้อนมวล Coronal Mass Ejections (CME) ของดวงอาทิตย์
ภาพขณะเกิด CME (ภาพจาก: spaceweather.com)

ภาพขณะเกิด CME (ภาพจาก: spaceweather.com)

คำตอบของคำถามเหล่านี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจและทำนายความเสี่ยงของเหตุการณ์ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร (communication) และนำทาง (navigation) ถูกรบกวน หรือระบบการจ่ายไฟฟ้า ​(power grid) ล่มจากกิจกรรมของดวงอาทิตย์ได้อย่างไร ไปจนถึงการทำงานของดาวดวงอื่นๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ

ที่มา: space.com

0/5 (0 Reviews)

ผู้ร่วมก่อตั้งชมรม SCIREN ชอบการทำสื่อและการตลาด ชอบวิทยาศาสตร์เป็นชีวิตจิตใจ

error: