มนุษย์คนแรกที่อยู่ในอวกาศนานที่สุดในโลก Scott Kelly เกิดอะไรขึ้นกับเขาบ้าง
จะเกิดอะไรขึ้นหากมนุษย์อยู่บนอวกาศเป็นเวลานาน นักวิทยาศาสตร์จากนาซ่าจึงต้องหาคำตอบนี้โดยการส่งคุณ Scott Kelly ขึ้นไปอาศัยอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลา 1 ปี เพื่อศึกษาว่ามนุษย์จะสามารถทนต่อการเดินทางหรืออยู่อาศัยบนอวกาศได้แค่ไหน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ความใฝ่ฝันของมนุษย์ที่ไปตั้งรกรากบนดาวดวงอื่นๆ นั้นมีมาเป็นเวลายาวนาน แต่ด้วยข้อจำกัดในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยี อาหาร แรงโน้มถ่วง พลังงาน และข้อจำกัดของตัวมนุษย์เอง จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา หากอาศัยอยู่บนอวกาศเป็นเวลานาน
เมื่ออยู่บนโลก แรงโน้มถ่วงจะทำให้ร่างกายส่วนล่างของเรา ขาของเราแบกรับน้ำหนักอันอวบอ้วนของเราเอาไว้ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นข้อเสีย แต่กลไกนี้เองทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อของมนุษย์แข็งแรง เช่นเดียวกับหัวใจที่สูบฉีดเลือดก็ต้องทำงานแข่งกับแรงโน้มถ่วง
ทำไมถึงเป็นคุณ Scott Kelly
เนื่องจากการจะศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกร่างกาย นาซ่าต้องจึงคัดเลือกคู่แฝดมาหนึ่งคู่ หวยจึงไปตกอยู่ที่คุณ Scott Kelly ซึ่งมีแฝดพี่ชื่อ Mark Kelly ผู้เคยเป็นนักบินอวกาศมาก่อน
คุณ Scott เคยเป็นหัวหน้าหน่วยนาวีซีล หลังจากนั้นในปีค.ศ. 2012 จึงได้รับคัดเลือกให้มาปฏิบัติภารกิจพิเศษอันยาวนานนี้ โดยต้องอยู่อาศัยอยู่บนนั้นเป็นปีๆ เพื่อเทียบกับคุณ Mark แฝดพี่ซึ่งรออยู่บนโลก นำมาเปรียบเทียบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังปฏิบัติภารกิจมากน้อยแค่ไหน
เกิดอะไรขึ้นบ้างกับคุณ Scott
หลังจากใช้ชีวิตอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลา 342 วัน คุณ Scott ก็เดินทางมาถึงพื้นโลกอย่างปลอดภัย ในวันที่ 2 มีนาคม เวลา 10.26 น. ตามเวลาประเทศคาซัคสถาน
เมื่อเริ่มทำการตรวจร่างกายต่างๆ จึงพบว่าร่างกายคุณ Scott มีความเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
กระดูกเปราะ
เนื่องจากคุณ Scott ไม่จำเป็นต้องเดินไปเดินมาบนสถานีอวกาศ เพียงแค่อาศัยลอยตัวในอากาศไปตามที่ต่างๆ เท่านั้น ทำให้ขา สะโพก และกระดูกสันหลัง มีความสามารถในการแบกน้ำหนักลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากแคลเซียมในกระดูกถูกปล่อยออกมา ซึ่งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไต และกระดูกหักได้
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
การอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีแรงโน้มถ่วงทำให้ขาและหลัง ไม่จำเป็นต้องทำงานหนัก ดังนั้นกล้ามเนื้อที่เคยช่วยพยุงร่างกายจึงอ่อนแรงหรือฝ่อลงไป ทำให้อาจเกิดการล้มหรืออุบัติเหตุระหว่างภารกิจสำรวจอวกาศได้
หน้าใหญ่ แต่ขาเล็ก
ในอวกาศ เลือดจะไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนบนองร่างกายได้มากขึ้น เช่น ที่ใบหน้า เนื่องจากไม่ต้องสู้กับแรงโน้มถ่วง ทำให้ในระหว่างที่อยู่ในอวกาศใบหน้าจะดูใหญ่ขึ้น แต่ขาจะดูเล็กลง
หัวใจเล็กลง
อย่างที่บอกไปในห่วงข้อที่แล้วว่า หัวใจไม่ต้องทำงานหนักในการสูบฉีดเลือดำไปเลี้ยงส่วนบนของร่างกายโดยสู้กับแรงโน้มถ่วง ทำให้ขนาดของหัวใจเล็กลง และยังมีความกังวลว่ารังสีในอากาศมีผลต่อเยื่อบุผิวของผนังหลอดเลือด ซึ่งมีกลไกป้องกันการแข็งตัวของเลือด โดยจะทำให้เกิดหรือเร่งให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
สมดุลของร่างกายเปลี่ยนไป
หูชั้นใน ซึ่งมีความไวต่อแรงโน้มถ่วงนั้นทำงานได้ไม่ถูกต้องเหมือนเมื่อก่อน โดยในช่วงแรกๆ ของภารกิจนักบินอากาศอาจเกิดอาการปวดหัว ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวในอวกาศไปจนถึงการหลงลืมทิศทาง เมื่อคุณ Scott เดินทางกลับมาถึงพื้นโลกนั้น สมดุลต่างๆ ยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับแรงโน้มถ่วงได้ จึงทำให้มีปัญหาในการยืน การจ้องบางสิ่งบางอย่าง การเดินเป็นต้น
มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น
บนอวกาศ นักบินอวกาศจะได้รับรังสีในปริมาณมากกว่าปกติ ซึ่งมีโอกาสนำไปสู่โรคต้อกระจก และมะเร็งได้
นาฬิกาชีวภาพในร่างกายทำงานไม่ปกติ
ไม่มีเวลา 24 ชั่วโมงต่อวันในอากาศเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของกลางวันและกลางคืนเปลี่ยนไป เมื่อกลับสู่พื้นโลก นาฬิกาชีวภาพในร่างกายของคุณ Scott จึงต้องทำการปรับตัวใหม่อีกครั้ง
มีส่วนสูงเพิ่มขึ้น
คุณ Scott มีส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นประมาณ 2 นิ้ว เนื่องจากหมอนรองกระดูกไม่ได้ถูกน้ำหนักของร่างกายกดเอาไว้เมื่ออยู่ในอากาศ ถือเป็นข้อดีเพียงอย่างเดียวที่ได้มาจากการอยู่ในอวกาศเป็นระยะเวลานาน
เมื่อกลับมาถึงคุณ Scott ก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากผู้คนทั่วโลก เนื่องจากในขณะปฏิบัติภารกิจคุณ Scott ยังเผยแพร่ความรู้ต่างๆ และรูปถ่ายสวยๆ จากบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งเป็นมุมมองของโลกที่น้อยคนจะได้เห็นอย่างแน่นอน
ภาพพระอาทิตย์ตกแรกใน Norway หลังจากที่คุณ Scott กลับลงมาถึงพื้นโลก
My first #sunset on #Earth in #Norway on my way home! #YearInSpace pic.twitter.com/RHHJJ972ci
— Scott Kelly (@StationCDRKelly) March 2, 2016
อย่างไรก็ตามคุณ Scott ประกาศเลิกเป็นนักบินอวกาศแล้วในเดือนเมษายนปี 2016